Curriculum

หลักสูตรปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต
(BACHELOR OF ARTS)

       เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญภาษาจีนทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ตลอดจนเข้าใจสามารถนำภาษาจีนไปใช้ในการพูดสื่อสาร การทำเอกสารทางธุรกิจ ติดต่อค้าขายกับจีน โดยจะได้ไปเรียนที่ประเทศจีน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในชั้นปีการศึกษาที่ 3
            • ชั้นปีที่ 1 เน้นการศึกษาพื้นฐานในวิชาต่าง ๆ เช่น การเสริมทักษะภาษาจีน  การฟัง – พูด การสนทนา การอ่าน พร้อมทั้งเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาทั่วไปอื่น ๆ
            • ชั้นปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะภาษาจีนด้านต่าง ๆ ในระดับสูงขึ้น ทั้งไวยากรณ์ การแปลพื้นฐาน เป็นต้น
            • ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาเดินทางไปศึกษาที่ประเทศจีน เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยเน้นศึกษาวิชาเอกเลือกและเอกบังคับในทักษะเฉพาะด้าน ทั้งด้านการเขียนภาษาจีนเชิงธุรกิจ ภาษาจีนเพื่อธุรกิจออนไลน์ ภาษาจีนเพื่องานโลจิสติกส์ เป็นต้น
            • ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะเน้นศึกษาวิชาเอกบังคับ เช่น ชาวจีนโพ้นทะเลในอาเซียน การแปลธุรกิจจีน เป็นต้น และเน้นการฝึกงาน (สหกิจศึกษา) ตามแผนการเรียนที่ทางคณะกำหนดไว้

ปรัชญาของหลักสูตร
       ภาษาจีนเป็นภาษาสากลภาษาหนึ่งที่มีความสําคัญยิ่งในการติดต่อสื่อสารในโลกปัจจุบัน และจะทวีความสําคัญมากขึ้นในอนาคต ภาษาจีนเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากทั้งในด้านการทูต การธุรกิจและ การศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแรงงาน การพาณิชย์ และธุรกิจการท่องเที่ยวทั้งของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้การได้สัมผัสกับภาษาอื่นเป็นการเปิดกว้างทัศนคติของผู้ศึกษาที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความคิด ค่านิยม และวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ อันก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดีงามระหว่างเพื่อนมุษยชาติด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมทั้งในด้าน คุณภาพ คุณธรรม และมีจิตสํานึกการเป็นพลเมืองดีในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเองและ ประเทศชาติ คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน จึงเห็นสมควรพิจารณาจัดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจขึ้น

 
โอกาสในการทำงาน
       – ฝ่ายประสานงานระหว่างประเทศ ผู้ผลิตเนื้อหาภาษาจีนในการทำตลาดออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ
       – พิธีกร ล่ามไทย – จีน จีน – ไทย นักข่าวภาคภาษาจีน
       – เจ้าหน้าที่สถานทูต  ครู อาจารย์ และอาชีพอื่นๆ อีกมากมาย เช่น พนักงานสายการบิน บริษัทท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม มัคคุเทศก์ เลขานุการ เป็นต้น

1. ชื่อหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565)

       ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
       ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Business Chinese

2. ชื่อปริญญาและอักษรย่อ

       ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีนธุรกิจ) | (ชื่อย่อ) : ศศ.บ. (ภาษาจีนธุรกิจ)
       ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Bachelor of Arts (Business Chinese) | (ชื่อย่อ) : B.A. (Business Chinese)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

       เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาจีนได้อย่างเหมาะ ในทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การฟัง การพูด  การอ่าน  การเขียน  การแปล  เป็นต้น  มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการประกอบอาชีพและศึกษาในระดับสูงขึ้น  การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรจึงมุ่งเน้นความรู้ ความเข้าใจในทางทฤษฎีภาษา  ก่อนจบการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 กำหนดให้ผู้เรียนฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพ  เพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพต่อไป

4.  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

       144  หน่วยกิต

5.  รูปแบบของหลักสูตร

       5.1  รูปแบบ : เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
       5.2  ภาษาที่ใช้ : การจัดการเรียนการสอน เป็นภาษาไทยและภาษาจีน เอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นตำราภาษาไทยและภาษาจีน
       5.3  การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
       5.4  ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง และทางหลักสูตรมีการทพบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันการศึกษากับประเทศจีน
       5.5  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH
เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญภาษาจีนทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ตลอดจนเข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของชาวจีน โดยจะได้ไปเรียนที่ประเทศจีน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในชั้นปีการศึกษาที่ 3
            • ชั้นปีที่ 1 เน้นการศึกษาพื้นฐานในวิชาต่าง ๆ เช่น การเสริมทักษะภาษาจีน การออกเสียงภาษาจีน การฟัง – พูด การสนทนา การอ่าน พร้อมทั้งเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร วิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์ จิตวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาทั่วไปอื่น ๆ
            • ชั้นปีที่ 2 เรียนรู้ทักษะภาษาจีนด้านต่าง ๆ ในระดับสูงขึ้น ทั้งไวยากรณ์ ตัวอักษร ศิลปวัฒนธรรม บทความร้อยแก้วและร้อยกรองภาษาจีน รวมถึงการอ่านบทความและสำนวนจีนในสื่อโซเชียล เป็นต้น
            • ชั้นปีที่ 3 นักศึกษาเดินทางไปศึกษาที่ประเทศจีน เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยเน้นศึกษาวิชาเอกเลือกและเอกบังคับในทักษะเฉพาะด้าน ทั้งด้านการเขียน การสื่อสารมวลชน  วัฒนธรรมจีนศึกษา ศิลปวัฒนธรรมจีน ศิลปะการแสดงและดนตรีจีน ภาษาจีนในสื่อภาพยนต์บันเทิงและสื่อดิจิทัล วัฒนธรรมการค้ายุคใหม่ของจีน เป็นต้น
            • ชั้นปีที่ 4 นักศึกษาจะเน้นศึกษาวิชาเอกบังคับ เช่น ชาวจีนโพ้นทะเลในอาเซียน การแปลวรรณกรรม เป็นต้น และเน้นการฝึกงาน (สหกิจศึกษา) ตามแผนการเรียนที่ทางคณะกำหนดไว้

ปรัชญาของหลักสูตร
       ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีความเข้าใจในปรัชญาและวัฒนธรรมจีน อีกทั้งเป็นผู้ตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมจีน

โอกาสในการทำงาน
       – นักแปลวรรณกรรมจีน ภาพยนตร์จีน ซีรี่ย์จีน ผู้ดำเนินรายการภาษาจีน ล่ามภาษาไทย-จีน ทั้งภาครัฐและเอกชน
       – เจ้าหน้าที่สถานทูต  ครู อาจารย์ และอาชีพอื่นๆ อีกมากมาย เช่น พนักงานสายการบิน บริษัทท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม มัคคุเทศก์ เลขานุการ เป็นต้น
 

1. ชื่อหลักสูตร (ฉบับปรับปปรุง พ.ศ.2565)

       ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน
       ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Chinese Language and Culture

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

       ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาและวัฒนธรรมจีน) | ชื่อย่อ (ไทย) :    ศศ.บ. (ภาษาและวัฒนธรรมจีน)
       ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Chinese Language and Culture) | ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A. (Chinese Language and Culture)

3. หลักการและเหตุผล

       เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืนระหว่างภาคเศรษฐกิจภายในประเทศ  และภาคการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านบริหารธุรกิจ  ในการทำธุรกิจกับประเทศจีนที่สามารถประยุกต์ทฤษฎี  ภาคปฏิบัติ และประสบการณ์ มาใช้ประกอบการตัดสิน  เรียนรู้และปรับตัวเพื่อการพัฒนาตนเอง  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรภายใต้วัฒนธรรมการทำธุรกิจจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และคุณธรรมสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ  ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. วัตถุประสงค์

       เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนสื่อความหมายได้ถูกต้องและเหมาะสม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน  และการเขียน มุ่งให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์นำความรู้ความเข้าใจทางภาษา และวัฒนธรรมจีนไปใช้ในการประกอบอาชีพ และการศึกษาในระดับสูงขึ้น มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในปรัชญา และวัฒนธรรมจีน อีกทั้งตระหนักในคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมจีน  การจัดกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรจึงมุ่งเน้นทั้งความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีทางภาษา และฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะ ในการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภาษาจีนเข้ากับวัฒนธรรมจีนได้เป็นอย่างดี

5. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

       144 หน่วยกิต

6. รูปแบบของหลักสูตร

       6.1  รูปแบบ : เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
       6.2  ภาษาที่ใช้ : การจัดการเรียนการสอน เป็นภาษาไทยและภาษาจีน เอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นตำราภาษาไทยและภาษาจีน
       6.3  การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
       6.4  ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง และทางหลักสูตรมีการทพบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันการศึกษากับประเทศจีน
       6.5  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH
        จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาไทย โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจรอบด้านเกี่ยวกับจีนในหลากหลายมิติ สามารถนำองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาไปวิเคราะห์ แยกแยะสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์และประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างเหมาะสมกับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ผู้เรียนได้เดินทางไปเรียนที่ประเทศจีน 1 ภาคการศึกษา ในชั้นปีที่ 3
 
ปรัชญาของหลักสูตร
        หลักสูตรจีนศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและมีความเข้าใจรอบด้านเกี่ยวกับจีนในหลากหลายมิติ รวมถึงศึกษาปัจจัยสําคัญที่จีนมีอิทธิผลต่อภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย กระบวนการเรียนรู้ในสาขาจีนศึกษา มีการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ แยกแยะและเน้นการให้ความรู้เชิงวิชาการจากผู้สอนถึงผู้เรียนเป็นสําคัญ เพื่อให้สามารถขยายความรู้ใหม่ อีกทั้งยังสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างเหมาะสมกับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
โอกาสในการทำงาน
        – ผู้ประสานงานกับหน่วยงาน / องค์กรของจีน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
        – Content Creators (Youtuber) ด้านจีนศึกษา และในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ
        – นักวิชาการด้านจีนศึกษา / นักวิจัยอิสระด้านจีนศึกษา เป็นต้น
 

1. ชื่อหลักสูตร (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2566)

        ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา
        ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Arts Program in Chinese Studies    

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

        ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (จีนศึกษา) | ชื่อย่อ (ไทย) :    ศศ.บ. (จีนศึกษา)
        ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Chinese Studies) | ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A. (Chinese Studies)        

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

        130 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

    1. รูปแบบหลักสูตร : หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
    2. ภาษาที่ใช้ : จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาไทยร่วมกับภาษาจีน
    3. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง และทางหลักสูตรมีการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันการศึกษากับประเทศจีน
    4. การรับเข้าศึกษา : นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
    5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรจีนศึกษา (PLOs)

        PLO1 ใช้ภาษาจีนในการฟัง พูด อ่าน เขียน แปลภาษาจีน-ไทย ไทย-จีน ประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
                   Sub PLO 1.1  ใช้ทักษะภาษาจีน ฟัง พูด อ่าน เขียนและแปลภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
                   Sub PLO 1.2  ประยุกต์ใช้ภาษาจีนในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

        PLO2 ใช้ศาสตร์ด้านจีนศึกษาที่เรียนมาประกอบอาชีพและนำมาประยุกต์ใช้ในอาชีพอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   Sub PLO 2.1  อธิบายองค์ความรู้ หลักการ บทบาท และแนวคิดพื้นฐานด้านจีนศึกษาได้
                   Sub PLO 2.2  ประยุกต์องค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในการนำเสนอและสร้างสรรค์ผลงานได้เหมาะสม

        PLO3 มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในด้านจีนศึกษา อาทิเช่นศิลปวัฒนธรรมจีน-ไทย สังคม และแนวคิดของคนจีน เทคโนโลยีสารสนเทศจีน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพ หรือสื่อสารกับชาวจีน
                   Sub PLO 3.1  อธิบายองค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในมิติต่างๆได้ เช่น ศิลปวัฒนธรรม สังคม แนวคิด เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
                   Sub PLO 3.2  ประยุกต์องค์ความรู้ด้านจีนศึกษาในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

        PLO4 ให้บริการแก่สังคมด้วยการเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ติดต่อ ระหว่างชาวไทย ชาวจีน และชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาจีน
                   Sub PLO 4.1  เลือกใช้ภาษาจีนในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมจีน
                   Sub PLO 4.2  บูรณาการองค์ความรู้ด้านจีนศึกษามาใช้ในการสื่อสารและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลได้เหมาะสม

        PLO 5 ใช้องค์ความรู้ที่มีในการประกอบ อาชีพอย่างสุจริตและเป็นที่ยอมรับใน สังคม
                   Sub PLO 5.1 ปฏิบัติตนตามข้อกําหนดและเงื่อนไขของการเรียนตามที่รายวิชากําหนด
                   Sub PLO 5.2 แสดงออกถึงการนําความรู้ทางด้านจีนศึกษามาใช้โดยเคารพกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

6.คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจีนศึกษา
        1.เป็นผู้มีความรู้สอบผ่านตามเกณฑ์ไม่ต่ํากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้เทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
        2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาอื่นหรือเทียบเท่าซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองและสมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่น
        3. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
        4. มีความประพฤติดีไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
        5. ไม่เป็นคนวิกลจริต
        6. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

7.ขั้นตอนการรับสมัครผู้เข้าศึกษาโดยยึดหลักเกณฑ์ดังนี้
        1) สอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
        2) สอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
        3) คัดเลือกด้วยวิธีเทียบโอนหรือสอบคุณวุฒิอย่างอื่นแทน
        4) รับเข้าตามโครงการพิเศษ ได้แก่ ทุนโรงเรียนจีน 30 ปีมฉก. ทุนโรงเรียนจีน 12 ปีทุนกระจาย

8. สมัครออนไลน์ได้ที่    https://admission.hcu.ac.th/admission.html

9.เอกสารการสมัครฯ
        • สำเนาบัตรประชาชน
        • สำเนาทะเบียนบ้าน
        • สำเนาวุฒิการศึกษา

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH

หลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(MASTER OF ARTS)

1. รหัสและชื่อหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

        ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
        ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Teaching Chinese

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

        ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาจีน) | ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.ม. (การสอนภาษาจีน)
        ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Arts (Teaching Chinese) | ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.A. (Teaching Chinese)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

        เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี และทักษะทางด้านการสอนภาษาจีน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบททั้งในระดับประเทศและนานาชาติในวัฒนธรรม ที่หลากหลาย อีกทั้งมุ่งพัฒนาความรู้ด้านภาษาจีนให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นความรู้ด้านการวิจัย เพื่อสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาความรู้เดิมได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ภาษา และการใช้ความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีคุณลักษณะใฝ่หาความรู้ และการพัฒนาตนเองตลอดชีวิต

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

        39 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

        5.1  รูปแบบ
                หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

        5.2  ภาษาที่ใช้
                ภาษาจีน

        5.3  การรับเข้าศึกษา
                รับสมัครนักศึกษาไทยและต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้เป็นอย่างดี โดยหากผู้สมัครเข้าศึกษามิใช่เจ้าของภาษาจีน จะต้องมีผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ระดับ 4 (ระดับกลาง) ขึ้นไป ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและผ่านการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และตามเกณฑ์ต่อไปนี้

                        5.3.1 ผู้สมัครเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาศิลปศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ทางด้านภาษาจีน หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นจากสถาบันอุดมศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50 และ

                        5.3.2 กรณีที่ผู้สมัครไม่มีผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์การวัดระดับความรู้ภาษาจีนตามที่คณะฯกำหนด สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่านจะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปรับพื้นฐานภาษาจีน จนกว่าจะสอบผ่านการวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ระดับ 4 (ระดับกลาง) ขึ้นไป

        5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
              คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างซี (Guangxi University)

        5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
                ศศ.ม. (การสอนภาษาจีน)

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH

1. ชื่อหลักสูตร (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2565)

        ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ
        ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Chinese for Business Communication

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

        ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ) | ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.ม. (ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ)
        ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Arts (Chinese for Business Communication) | ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.A. (Chinese for Business Communication)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

        เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ทักษะการสื่อสารทางภาษาจีนทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนเชิงธุรกิจระดับสูง  มุ่งให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้ศึกษา เพื่อประยุกต์กับการประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ   มุ่งให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้านภาษาจีนเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าต่อในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งมุ่งสร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อสังคม  มีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

        39 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

        5.1 รูปแบบ
                หลักสูตรระดับปริญญาโท ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

        5.2 ภาษาที่ใช้
                การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาจีน

        5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
                คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเงินยูนนาน

        5.5  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
                ให้ปริญญา ศศ.ม.(ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ)

6. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) หลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสารเชิงธุรกิจ

PLO 1 ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลงานวิจัยโดยใช้หลักการจริยธรรมและหลักวิชาการ
             1.1) เขียนอ้างอิงข้อมูลที่ใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
             1.2) เขียนวิทยานิพนธ์ที่เนื้อหามีการคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่น ไม่เกินร้อยละ 20
             1.3) นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

PLO 2 นำทฤษฎี/ แนวคิดด้านการใช้ภาษาจีนและการบริหารธุรกิจไปประยุกต์ในการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
             2.1) อธิบายทฤษฎี/แนวคิดการใช้ภาษาจีนเชิงธุรกิจ
             2.2) ประยุกต์ทฤษฎีและแนวคิดในการเขียนวิทยานิพนธ์สร้างองค์ความรู้ใหม่

PLO 3 วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่
             3.1) วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและแนวทางแก้ไขของการศึกษาวิจัย
             3.2) นำแนวทางแก้ไขที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือต่อยอดองค์ความรู้ใหม่

PLO 4 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ภายใต้ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
             4.1) ทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆได้
             4.2) สร้างสัมพันธภาพที่ดีและปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานระดับบนและล่างได้

PLO 5 มีทักษะการใช้ (วิเคราะห์)เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัยและนำเสนอผลงาน
             5.1) วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการศึกษาวิจัยและปรับใช้กับการเขียนงานวิทยานิพนธ์
             5.2) วิเคราะห์และอธิบายข้อมูลการศึกษาวิจัยเชิงสถิติและพรรณนาได้

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH

หลักสูตรปริญญาเอก ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(DOCTOR OF PHILOSOPHY)

1. รหัสและชื่อหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)

        ภาษาไทย : ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การสอนภาษาจีน)
        ภาษาอังกฤษ : Doctor of Arts Program in Teaching Chinese 

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

        ภาษาไทยชื่อเต็ม ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การสอนภาษาจีน) ชื่อย่อ  ศศ.ด. (การสอนภาษาจีน)

        ภาษาอังกฤษชื่อเต็ม Doctor of Arts (Teaching Chinese)  ชื่อย่อ D.A. (Teaching Chinese)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

        หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาจีน มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจด้านทักษะการสอนวิชาภาษาจีน และมีความสามารถด้านเทคนิควิธีการสอนที่ทันสมัยด้วยวิธีการและสื่อที่เหมาะสม พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับไปพัฒนาและรับใช้สังคม ประเทศชาติ ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

        42 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

        5.1  รูปแบบ

                หลักสูตรระดับปริญญาเอก มี 2 แบบ คือ แบบ 1.1 และแบบ 2.1 

                    – หลักสูตรแบบ 1.1 มีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต

                    – หลักสูตรแบบ 2.1 มีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 69 หน่วยกิต

                ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

        5.2  ภาษาที่ใช้

                ภาษาจีน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

        5.3  การรับเข้าศึกษา

                รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาจีนและภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

                แบบ 1.1   เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์ 54 หน่วยกิต ภายใต้การให้คำปรึกษาของอาจารย์
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่หลักสูตรเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาดังนี้

                        1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาจีน จีนศึกษา หรือการสอนภาษาจีนและมีคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00

                          2. เป็นนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาจีนและภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี  โดยต้องมีผลสอบภาษาจีน (HSK) ระดับ 6 (ยกเว้นชาวจีน) ภาษาอังกฤษต้องสอบผ่านTOEFL โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 490 คะแนน / TOEIC มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน / IELTS มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 5 คะแนน / CU-TEP มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 70  คะแนน หากสอบไม่ผ่านผู้สมัครจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษตามเกฏฑ์ของทางบัณฑิตศึกษากำหนดไว้

                        3. มีผลงานวิจัยหรือแผนงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

                แบบ 2.1   เป็นแผนการศึกษาที่มีการเรียนการสอนวิชาบังคับและทำวิทยานิพนธ์ ทั้งหมด 69 หน่วยกิต ภายใต้การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่หลักสูตรเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาดังนี้

                        1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาอื่นนอกเหนือจากสาขาวิชาภาษาจีน จีนศึกษา หรือการสอนภาษาจีน และมีคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.00

                        2. เป็นนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาจีนและภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี  โดยต้องมีผลสอบภาษาจีน (HSK) ระดับ 6 (ยกเว้นชาวจีน)  ภาษาอังกฤษต้องสอบผ่านTOEFL โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 490 คะแนน / TOEIC มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน / IELTS มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 5 คะแนน / CU-TEP มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 70  คะแนน หากสอบไม่ผ่านผู้สมัครจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษตามเกฏฑ์ของทางบัณฑิตศึกษากำหนดไว้

หมายเหตุ : หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

        5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

                เป็นหลักสูตรของคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างซี (Guangxi University)

        5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

                ใบปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 

ติดต่อสอบถาม
วิทยาลัยจีนศึกษา อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1
โทรศัพท์ 02-3126300-79 ต่อ 1477, 1478, 1479 โทรสาร 02-3126295
Line : @651muzum
Fanpage วิทยาลัยจีนศึกษา https://bit.ly/3Cik0UH
Scroll to Top