About_TH

วิทยาลัยจีนศึกษา

เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้รับความเห็นชอบจาก ทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2535  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535  ตามหนังสือที่ ทม.0207/19589  ลงวันที่ 24 กรกฎาคม  2535 (ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2533)  และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2538  (ตามหนังสือที่ ทม.0207/10902  ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539)  โดยแรกเริ่มก่อตั้งสังกัดสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์  ต่อมาในปี พ.ศ.2537  คณะมนุษยศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็นคณะศิลปศาสตร์  ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา หลักสูตรภาษาจีนจึงขึ้นสังกัดอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์จวบจนปัจจุบัน

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้รับความเห็นชอบจาก ทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2535  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535  ตามหนังสือที่ ทม.0207/19589  ลงวันที่ 24 กรกฎาคม  2535 (ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2533)  และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2538  (ตามหนังสือที่ ทม.0207/10902  ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539)  โดยแรกเริ่มก่อตั้งสังกัดสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์  ต่อมาในปี พ.ศ.2537  คณะมนุษยศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็นคณะศิลปศาสตร์  ดังนั้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมา หลักสูตรภาษาจีนจึงขึ้นสังกัดอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์จวบจนปัจจุบัน

แพทย์หญิงกรรณิการ์  ตันประเสริฐ (2543 : 343) ที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยและสืบเนื่องกับที่มาของ การก่อตั้งสาขาวิชาภาษาจีน (คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน) ไว้ว่า

“….จาก การหารือร่วมกันหลายครั้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับท่านประธานอุเทน  สรุปได้ว่ามูลนิธิป่อเต็กตึ๊งอยากได้มหาวิทยาลัยชั้นดี  มีคุณภาพ  ผลิตบัณฑิตได้ในหลาย ๆ สาขาวิชาที่ประเทศต้องการ  และบัณฑิตต้องเป็นคนดี มูลนิธิฯ ให้หลักไว้เลยว่าให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่หวังผลกำไร แต่ต้องพึ่งและพัฒนาตัวเองได้ในอนาคต  จากจุดตรงนี้จึงได้เสนอแผน (รุ่นแรก) ต่อสภามหาวิทยาลัยในเดือนธันวาคม 2533  โดยจัดเป็นมหาวิทยาลัยขนาดที่ไม่ใหญ่นัก  คือใน 5 ปี  จะมีนักศึกษาราว 5,000 คน  เปิดสอนได้ถึงระดับปริญญญาโท  การผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40  ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าของเอกชนโดยทั่วไป  โดยเน้นด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เรามีขีดความสามารถ  มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเองอยู่แล้ว  ส่วนเรื่องของภาษาจีนนั้น  แน่นอนว่าเราต้องมีการสอนเพราะเป็นภาษาที่น่าจะมีบทบาทในภูมิภาคนี้เพิ่ม ขึ้นในอนาคต  รากเหง้าของมหาวิทยาลัยก็เกี่ยวพันกับคนจีนอยู่แล้ว  ดิฉันเชื่อมั่นว่าแผนงานนี้เป็นไปได้….”

ความสำคัญของการจัดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไม่เพียงแต่เป็นภารกิจที่ได้รับการสืบทอดเจตนารมณ์และปณิธานของผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยแต่เพียงอย่างเดียว  ความต้องการบัณฑิตทางด้านภาษาจีนและความกระตือรือร้นในการเผยแพร่และศึกษา ภาษาจีนยังเป็นกระแสความต้องการที่ทันสมัยและมีความจำเป็นยิ่งหาก มหาวิทยาลัยต้องการพัฒนาสู่ความเป็นสากล 

(แหล่งที่มา : จรัสศรี จิรภาส และคณะ  “การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชา ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2544 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” 2548 หน้า 2-3)

วิทยาลัยจีนศึกษา ปรัชญา

ธำรงคุณธรรม ยึดมั่นธรรมาภิบาล เชี่ยวชาญจีนศึกษา น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    

วิทยาลัยจีนศึกษา วิสัยทัศน์

เป็นวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิต ที่มีคุณธรรมและมีมาตรฐานวิชาการในระดับสากล และเป็นผู้นำด้านภาษาจีนและจีนศึกษา

เป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพด้านจีนศึกษาในทุกมิติ 

วิทยาลัยจีนศึกษา พันธกิจ

  1. ส่งเสริมให้มีความรู้ (ด้านจีน) คู่คุณธรรม มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต  
  2. เป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม (ด้านจีน) เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม   
  3. ปลูกฝังจิตสำนึกในการให้บริการวิชาการแก่สังคมในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีงามด้านจีนศึกษา
  4. ทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมไทย-จีน อันดีงาม 

สัญลักษณ์

Scroll to Top