KM_TH
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) วิทยาลัยจีนศึกษา
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเรื่อง”การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล”
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 13:-30-16:30 น. ณ ห้อง 2-111 อาคารเรียนรวม
องค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติในการจัดโครงการครั้งนี้
โครงการจัดการองค์ความรู้ด้านการสอนเรื่อง”การสอนภาษาจีนแบบAvtive Learning เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล” เป็นโครงการที่นำเสนอรูปแบบกิจกรรมต่างๆมาช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีสีสัน ความหลากหลายซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยเรียนรู้จากกิจกรรม ทั้งในรูปแบบของเกมหรือการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างมาก สามารถสร้างหรือออกแบบกิจกรรมในรูปแบบต่างๆและสามารถประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่างๆได้ ทั้งนี้สามารถออกแบบในการสอนทั้ง online หรือ outline ได้ อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้เหมาะกับการสอนในชั้นเรียนหรือการทำกิจกรรมร่วมกันมากกว่าการสอนทางออนไลน์
สรุปผลตามดัชนีชี้วัดของโครงการได้ดังนี้
- จำนวนผู้เข้าร่วมจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100
- ความพีงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในวิทยาลัยเพื่อพัฒนาdkiการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7
- อาจารย์มีความเข้าใจระบบการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนแบบ Avtive Learning คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7
- อาจารย์สามารถนำการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนแบบ Avtive Learning ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาของวิทยาลัย คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7
- ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อภาพรวมของการจัดโครงการ มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 4.7
แนวคิดและข้อเสนอแนะ
- การสร้างและออกแบบกิจกรรมแบบแบบ Avtive Learning ลักษณะนี้ในส่วนของการเรียนการสอนภาษาจีนนั้นบางรายวิชามีการดำเนินการอยู่แล้ว น่าจะนำมาแบ่งปันหรือนำเสนอเพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในรายวิชาที่เห็นควรเหมาะสม
- ควรให้มีการปฏิบัติโดยสร้างหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสามารถนำไปใช้ได้เลย
- ต้องการให้อาจารย์ในวิทยาลัยที่สอนรายวิชาร่วมกันเป็นทีม ออกแบบกิจกรรมหรือสร้างกิจกรรมในการเรียนการสอนและนำเสนอเพื่อเป็นแนวปฏิบัติหรือตัวอย่างต่อไป
สรุปโดย ผศ.ดร.นริศ วศินานนท์